เลเซอร์ไฟเบอร์ เซ็นเซอร์เทคโนโลยีรูปแบบใหม่

ด้วยความรุดหน้าของเทคโนโลยี ล่าสุดทีมนักพัฒนาจากประเทศจีน ก็ได้ทำการพัฒนาเลเซอร์ใยแก้วนำแสงที่ออกแบบมาเพื่อเป็นอุปกรณ์สวมใส่ เพื่อให้สามารถถ่ายภาพในร่างกายของมนุษย์ได้ ซึ่งถือเป็นวัฒนาการทางด้านการแพทย์ที่ก้าวหน้าไปอีกขั้น

เซ็นเซอร์ใยแก้วนำแสงหรือเลเซอร์ไฟเบอร์

ล่าสุดนักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยี Photonics มหาวิทยาลัยจี่หนาน ในมณฑลกวางโจว ได้พัฒนาเทคนิคการถ่ายภาพโดยการใช้แสงเลเซอร์ โดยมีเทคนิคการใช้งานเป็นรูปแบบของการสวมใส่อุปกรณ์เพื่อช่วยวินิจฉัยทางการแพทย์
โดยการทำงานของเลเซอร์จะขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบกับความยืดหยุ่นในเส้นใยแสง เพื่อให้ทำงานควบคู่ไปกับทำงานของคลื่นอัลตร้าซาวด์ที่มีการแพร่กระจายเป็นคลื่นทรงกลม และมีความไวค่อนข้างต่ำ  เพื่อให้สามารถใช้ในการวินิจฉัยทางด้านการแพทย์ได้ดียิ่งขึ้น

ลักษณะการทำงานของเซ็นเซอร์ใยแก้วนำแสง

ด้วยคุณสมบัติการแพร่กระจายที่กะทัดรัดมากขึ้น เพื่อให้ภาพถ่ายที่ดีกว่า ภายในแกนหลักของเส้นใยแสงมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 8 มม. เพื่อสร้างเป็นกระจกสะท้อนสองเส้นเข้ากับแกนเส้นใยด้วยแสงอัลตราไวโอเลต ผ่านเส้นใยแก้วที่ถูกเจือด้วย ytterbium และ erbium เพื่อแปลงเป็นแสงเลเซอร์ เพื่อเริ่มต้นการทำงานของเลเซอร์โดยใช้เลเซอร์เซมิคอนดักเตอร์ขนาด 980 nm จากเส้นใยแสงที่มีความยาวเพียง 8 มม. จากนั้นจึงปล่อยแสงที่ความยาวคลื่น 532 nm ออกมา
เมื่อเลเซอร์เส้นใยเหล่านี้ได้รับผลกระทบจากคลื่นอัลตร้าซาวด์ขนานกับความยาวเส้นใย จะเปลี่ยนรูปคลื่นที่ได้ผ่านการปรับความถี่ ทำให้สามารถตรวจจับการเปลี่ยนความถี่และสามารถสร้างเป็นรูปคลื่นเสียงได้

รูปแบบของการทำงานของคลื่นที่ถูกคิดค้นขึ้นมานี้ มีชื่อว่า self-heterodyning ซึ่งเป็นการทำงานโดยผสมเอาคุณสมบัติของ 2 ความถี่มาผสมกัน ทำให้เกิดข้อได้เปรียบและทำให้เอาต์พุตสัญญาณที่ได้มีเสถียรภาพมากขึ้น โดยได้มีการนำเลเซอร์ที่ว่านี้ไปทดสอบโดยการศึกษาหลอดเลือดในหูของหนูทดลอง ซึ่งสามารถแสดงภาพการกระจายออกซิเจนมาเพื่อใช้ทำการวินิจฉัยได้อย่างชัดเจน แสดงให้เห็นว่าเซนเซอร์ตัวนี้มีศักยภาพในการทำงานมาก และจะได้พัฒนาเพื่อประโยชน์ในการวินิจฉัยด้านการแพทย์ในกรณีอื่น ๆ ต่อไป

นับวันก็ยิ่งมีการคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ ๆ มากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งถือเป็นข้อดีมากกว่าข้อเสียโดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านการแพทย์ เนื่องจากจะช่วยเพิ่มความแม่นยำในการวินิจฉัยและเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการรักษา ทำให้สามารถช่วยชีวิตคนไข้ได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งก็ต้องติดตามกันต่อไปว่าหลังจากที่ได้มีการคิดค้นเลเซอร์ไฟเบอร์ตัวนี้ขึ้นมาแล้ว จะสามารถนำไปใช้งานจริงเพื่อวินิจฉัยโรคและช่วยเหลือผู้ป่วยรวมถึงคนไทยจะได้มีโอกาสใช้เทคโนโลยีตัวนี้ได้จริงเมื่อไหร่

 

Continue Reading

Big Data คืออะไรทำไมต้องจับตามอง

                ในโลกแห่งเทคโนโลยี ที่ข้อมูลข่าวสารมีมากมาย และหลั่งไหลมาจากหลายแหล่ง ทำให้ปัจจุบันได้มีการนำเอาข้อมูลต่าง ๆ มาจัดเก็บเป็นชุดข้อมูลขนาดใหญ่ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์กับองค์กร ภาคธุรกิจ สังคม เศรษฐกิจ การเมือง การตลาด รวมถึงเรื่องอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งในทางเทคโนโลยีสารสนเทศ เราเรียกการเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ลักษณะนี้ว่า Big Data วันนี้เราจะพาคุณไปรู้จักกับคำว่า Big Data ให้มากขึ้น และไปทราบถึงวิธีการนำเอาข้อมูลมากมายและหลากหลายเหล่านี้มาใช้ประโยชน์กัน

Big Data คืออะไร

                Big Data หรือที่เรียกได้เป็นภาษาไทยว่า ข้อมูลขนาดใหญ่ คือการเก็บชุดข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ และค่อนข้างมีความซับซ้อน ซึ่งข้อมูลทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกัน เหมือนการรวบรวมนำเอาข้อมูลย่อย ๆ เล็ก ๆ หลาย ๆ ชุด นำมาเก็บเอาไว้ด้วยกัน จนกลายเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ เพื่อการนำเอามาใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นข้อมูลที่มีขนาดใหญ่มากเกินกว่าที่ระบบโปรแกรม หรือซอฟต์แวร์ทั่วไปจะประเมินผล และนำเอามาใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งจะต้องอาศัยการพัฒนาหรือการเขียนโปรแกรม สร้างอัลกอริทึมโดยเฉพาะ จึงจะสามารถดึงเอาข้อมูลย่อย ๆ ที่มากมายและซับซ้อนเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ได้ในทางปฏิบัติ

Big Data Analysis

                ตามที่ได้กล่าวไป ถึงแม้ว่ามีการเก็บข้อมูลขนาดใหญ่และเป็นจำนวนมากก็จริง แต่หากไม่นำข้อมูลเหล่านั้นมาสกัด กลั่นกรอง นำมาวิเคราะห์เพื่อใช้งาน ข้อมูลเหล่านั้นก็จะถูกเก็บไว้โดยเปล่าประโยชน์ Big Data Analysis จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ และเป็นองค์ประกอบที่จะทำให้การใช้งาน Big Data เกิดความสมบูรณ์มากขึ้น ซึ่งในการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อการนำไปใช้นั้น สิ่งสำคัญก็คือการหารูปแบบความสัมพันธ์ของข้อมูลในแต่ละชุด ที่ทำให้ข้อมูลในระดับย่อย ๆ เชื่อมโยงเข้าด้วยกัน กลายเป็นความสัมพันธ์ของชุดข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งหากสามารถแกะและมองเห็นกุญแจที่เชื่อมความสัมพันธ์ดังกล่าวไว้ด้วยกันได้ ก็จะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ ในการนำมาวิเคราะห์ปัจจัยทางด้านธุรกิจ สังคม แนวโน้มการตลาด ช่วยในการตัดสินใจ ให้เราสามารถเลือกใช้กลยุทธ์ มาทำให้การดำเนินธุรกิจได้เปรียบและอยู่เหนือคู่แข่งทางการตลาดได้

ปัจจุบันนั้นได้มีหน่วยงานและองค์กรชั้นนำ ที่ได้เล็งเห็นความสำคัญของการจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากให้เป็นระบบ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นการใช้ประโยชน์ในด้านธุรกิจ หรือเพื่อความได้เปรียบในการแข่งขันเชิงการตลาดเท่านั้น แต่ยังจัดเก็บและนำเอาข้อมูลขนาดใหญ่ที่ว่านี้มาใช้ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ อีกมากมาย ได้แก่ การจัดเก็บข้อมูลเพื่อแก้ปัญหาด้านประชากรและด้านสังคม ด้านดาราศาสตร์ การวิเคราะห์และพยากรณ์สภาพอากาศ งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่มีความซับซ้อนทางด้านเคมี ชีววิทยา ไปจนถึงการจัดเก็บข้อมูลทางด้านการเมืองและด้านการทหาร เป็นต้น น

 

Continue Reading

เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ ความก้าวล้ำของวิวัฒนาการทางเทคโนโลยี

ในยุคที่ผู้คนให้ความสนใจกับเทคโนโลยีของระบบสื่อสารออนไลน์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กันเป็นอย่างมาก แต่ก็ยังมีอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่จะไม่กล่าวถึงไม่ได้ เนื่องจากมีการพัฒนาไปอย่างล้ำหน้าและน่าสนใจเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังนำไปสู่การใช้ประโยชน์หลาย ๆ ด้านได้ในอนาคต นั่นก็คือเทคโนโลยีด้านงานพิมพ์ ที่ปัจจุบันมีความรุดหน้าขึ้นไปสู่การเทคโนโลยีการพิมพ์ในรูปแบบ 3 มิติ

การทำงานของเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ

                ระบบการพิมพ์ของเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิตินั้น มีหลายระบบและหลากหลายรูปแบบของเครื่องพิมพ์ ซึ่งหลักการของการพิมพ์ให้ได้วัตถุและรูปร่างออกมาในลักษณะ 3 มิติ ก็คือการสร้างวัตถุขึ้นมาจากไฟล์ที่จำลองเป็นรูปแบบ 3 มิติ โดยเป็นการสร้างวัตถุตามแบบ 3 มิติที่ออกแบบไว้ขึ้นมาทีละชิ้นประกอบกัน ซึ่งระบบเทคโนโลยีงานพิมพ์ 3 มิติที่เป็นที่รู้จักและนิยมใช้ ได้แก่

  • ระบบ Fuse Deposition Modeling เป็นระบบงานพิมพ์ที่ใช้ความร้อนในการทำละลายวัตถุ จากนั้นก็ฉีดออกมาลากไปตามเส้นเป็นของวัสดุเป็นชั้น ๆ ตามรูปร่างและรูปแบบที่ได้ทำการออกแบบไว้ในโปรแกรม โดยเมื่อวัตถุที่ละลายด้วยความร้อนถูกฉีดออกมา ก็จะเย็นตัวและแข็งออกมาเป็นวัตถุในรูปร่าง 3 มิติ
  • ระบบ Stereo lithography and Digital Light Processing เป็นการสร้างงาน 3 มิติขึ้นมาจากเรซินเหลว โดยใช้แสงเป็นตัวตัดชิ้นงานเป็นรูปร่าง และทำให้ชิ้นงานแข็งตัวเป็นชั้น ๆ
  • ระบบ Selective Laser Sintering เป็นการขึ้นรูปงานพิมพ์ 3 มิติ โดยใช้เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ โดยแสงเลเซอร์จะไปทำละลาย และขึ้นรูปจากผงวัสดุที่ใช้สำหรับงานพิมพ์

เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิตินำไปใช้ประโยชน์ในด้านใดได้บ้าง

                ปัจจุบันได้มีการนำเอาเทคโนโลยีงานพิมพ์ในระบบต่าง ๆ มาใช้ประโยชน์ในงานด้านต่าง ๆ มากมาย ทั้งการสร้างโมเดลรูปแบบจำลองของงานด้าน 3 มิติ อย่างเช่น รูปแบบจำลองของการออกแบบเครื่องประดับ อัญมณี โครงสร้างของบ้าน โครงการ ตึก สิ่งปลูกสร้าง การผลิตข้าวของเครื่องใช้ประเภทเครื่องเซรามิกต่าง ๆ โมเดลจำลองของยานพาหนะ ชิ้นส่วนของเครื่องยนต์กลไกสำหรับชิ้นส่วนที่ยากต่อการออกแบบ อย่างเช่นยานอวกาศ ไปจนถึงการสร้างโครงสร้างเพื่อการปลูกถ่ายอวัยวะ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีนี้ได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในทุก ๆ สายงาน ไปจนถึงสายงานทางด้านการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับร่างกายของมนุษย์ ซึ่งถึงแม้ว่าเทคโนโลยีนี้จะก้าวหน้ามากขึ้นอย่างมาก ก็ต้องอาศัยการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้งานพิมพ์ 3 มิติมีความแม่นยำมากที่สุด    

                เชื่อว่าในอนาคตเราจะได้เห็นการนำเอาเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติมาใช้ประโยชน์ด้านต่าง ๆ กันอย่างแพร่หลาย และเชื่อว่าเทคโนโลยีที่พัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในทุก ๆ วัน จะทำให้มนุษย์มีความสะดวกสบาย รวมไปถึงช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้มากขึ้น

 

Continue Reading

AI ปัญญาประดิษฐ์ที่ไม่ได้เป็นเพียงแค่หุ่นยนต์

                ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ทำให้ปัจจุบันได้มีการประดิษฐ์ซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ในรูปแบบต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย ทั้งเพื่อความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร ความบันเทิง และประโยชน์ใช้งานในภาคอุตสาหกรรม ธุรกิจ และบริการต่าง ๆ ซึ่งหนึ่งในเทคโนโลยีที่เริ่มจะคุ้นหูและได้ยินกันอย่างแพร่หลาย ก็คือปัญญาประดิษฐ์ หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกกันสั้น ๆ ว่า AI ซึ่งหลายคนได้ยินคำนี้แล้วอาจจะติดกับคำว่า AI ต้องคือ Robot หรือหุ่นยนต์เท่านั้น แต่ความจริงแล้วไม่ได้เป็นเช่นนั้น วันนี้เราจะพาคุณไปรู้จักกับ AI หรือปัญญาประดิษฐ์กันมากขึ้น

AI คืออะไร

                AI ย่อมาจาก Artificial Intelligence ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยได้ว่า ปัญญาประดิษฐ์ เป็นศาสตร์ที่ใช้หลักการของวิศวกรรมและคอมพิวเตอร์เป็นหลัก เพื่อสร้างความฉลาดให้กับสิ่งที่ไม่มีชีวิต เมื่ออธิบายอย่างนี้เชื่อว่าหลายคนคงจะร้องอ๋อและเห็นภาพกันได้ง่ายขึ้น การสร้างความฉลาดให้กับสิ่งไม่มีชีวิตก็คือการออกแบบโปรแกรม กระบวนการ ฟังก์ชันการทำงาน การคิดคำนวณ การออกแบบ ประเมินผล การแก้ไขปัญหา ไปจนถึงความคิดสร้างสรรค์ต่าง ๆ  โดยใส่ข้อมูล หลักการ ตรรกะการทำงาน ความน่าจะเป็นลงไป คล้าย ๆ กับหลักการคิดของสมองคนแต่กลับยำเอาไปใส่ในคอมพิวเตอร์ โปรแกรม ซอฟต์แวร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ นั่นเอง    

การนำ AI มาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

                 ปัจจุบันได้มีการสร้างโปรแกรม ซอฟต์แวร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตามหลักการของปัญญาประดิษฐ์หรือ AI เพื่อช่วยในการคำนวณ ประเมินผล และช่วยในการตัดสินใจต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย ทั้งการนำเอาโปรแกรมมาบรรจุลงใน Robot หรือหุ่นยนต์ เพื่อใช้ควบคุมการทำงานของระบบให้ส่งคำสั่ง เพื่อดำเนินการช่วยเหลือและทำงานแทนมนุษย์ได้ตามต้องการ ทั้งในรูปแบบเครื่องจักร อุปกรณ์ ยานพาหนะ ไปจนถึงหุ่นยนต์ที่มีการสร้างและออกแบบมาให้มีรูปร่างหน้าตาเหมือนหรือมีการเคลื่อนที่ และมีลักษณะท่าทางเหมือนมนุษย์มากที่สุด ไม่เพียงเท่านั้นในทุกภาคส่วนยังมีการนำเอา AI มาใช้เพื่อการขับเคลื่อนธุรกิจ ไปจนถึงการแก้ปัญหาต่าง ๆ อาทิเช่น การนำ AI เข้ามาช่วยเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อเก็บข้อมูลของลูกค้า หรือกลุ่มผู้บริโภค เป้าหมายเพื่อให้ภาคธุรกิจรู้เทรนด์ความต้องการและสามารถนำเสนอสินค้า และบริการได้ตรงกับราคา และความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้มากขึ้น

การนำ AI มาช่วยวิเคราะห์และตัดสินใจสำหรับการลงทุน ซึ่งเชื่อว่าปัญญาประดิษฐ์ที่มีการป้อนข้อมูล ตรรกะและวิธีการคิดที่ถูกต้อง จะช่วยให้การตัดสินใจมีความถูกต้องและแม่นยำกว่าการตัดสินใจของมนุษย์ ไปจนถึงปัจจุบันยังได้มีการนำเอาปัญญาประดิษฐ์มาช่วยแก้ปัญหาความอดอยาก และความขาดแคลนของประชากรในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อช่วยประเมินสถานการณ์และตัดสินใจในการลงทุนเพาะปลูกพืชผลของเกษตรกร และช่วยเหลือในเรื่องของการพยากรณ์อากาศเหล่านี้เป็นต้น

ก็คงจะต้องติดตามกันต่อไปว่าด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในอนาคต จะทำให้เราได้เห็นการนำเอา AI หรือปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในรูปแบบใดอีกบ้าง

 

Continue Reading