โลกเราจะเป็นเช่นไรหากระบบขนส่ง “ไฮเปอร์ลูป” ถูกนำมาใช้งานอย่างจริงจังจนเป็นทางเลือกหลักในการใช้งาน?

หลายคนคงได้ทราบกันแล้วว่า ในแวดวงเทคโนโลยีและวิศวกรรมตอนนี้เรื่องราวของระบบขนส่งไฮเปอร์ลูปเป็นกระแสที่มาแรงมากแค่ไหน หลังจากที่ได้เริ่มมีการก่อสร้างเส้นทางไฮเปอร์ลูปอย่างเป็นทางการสายแรกขึ้นในดูไบเป็นที่เรียบร้อยแล้วโดยบริษัทเวอร์จิน ไฮเปอร์ลูป วัน ไม่เพียงเท่านั้นยังมีประเทศร่ำรวยอีกหลายประเทศที่ให้ความสนใจ ไม่ว่าจะเป็นซาอุดิอาระเบีย อินเดีย และจีน เป็นต้น ระบบไฮเปอร์ลูปในเวอร์ชั่นใช้งานจริงปัจจุบันนั้นแตกต่างจากอัลฟ่า โมเดล ที่อีลอน มัสก์ได้นำเสนอเป็นครั้งแรกมากเลยทีเดียว โดยเฉพาะระบบของเวอร์จิน ไฮเปอร์ลูปวันนั้นเรียกได้ว่าพร้อมเต็มที่แล้วสำหรับการติดตั้งใช้งาน ขอเพียงมีผู้ที่ใจกล้าพอที่จะตัดสินใจลงทุน

ระบบไฮเปอร์ลูปที่ใช้งานได้จริงในตอนนี้มีลักษณะเป็นเช่นไร?

ระบบไฮเปอร์ลูปที่ถูกนำมาใช้งานจริงในตอนนี้โดยบริษัทเวอร์จิน ไฮเปอร์ลูปวัน เป็นที่ใช้พอดวิ่งในท่อเช่นเดียวกับอัลฟ่า โมเดลที่อีลอน มัสก์ได้เริ่มต้นไว้ แต่การขับดันพอดจะไม่ได้อาศัยหลักการอัดอากาศให้พอดวิ่งไปข้างหน้า เหมือนกับการยิ่งปืนลมที่มัสก์ได้นำเสนอ เพราะหากทำแบบนั้นจะทำให้ยากต่อการควบคุมพอดและไม่ปลอดภัย เวอร์จิน ไฮเปอร์ลูปวัน จึงเลือกใช้ระบบขับดันด้วยแม่เหล็กไฟฟ้าที่สามารถควบคุมพอดได้ง่ายกว่าและปลอดภัยกว่านั่นเอง

หากระบบไฮเปอร์ลูปถูกนำมาใช้งานจริงจะเกิดประโยชน์อย่างไร?

ระบบขนส่งไฮเปอร์ลูปเป็นระบบขนส่งที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงมาก โดยพอดจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงถึง 1,200 กม./ชม. ภายในท่อสุญญากาศที่อยู่บนพื้นดิน ทำให้การเดินทางระหว่างเมืองใหญ่ ๆ ที่แต่ก่อนใช้รถไฟความเร็วสูงเดินทาง ที่ต้องใช้เวลาเป็นชั่วโมงอาจจะเหลือเพียงไม่กี่นาที ความสะดวกรวดเร็วในการเดินทางเช่นนี้นอกจากจะเหนือกว่ารถไฟความเร็วสูงแล้ว ยังเหนือกว่าการใช้เครื่องบินที่ต้องมีระยะเวลาที่ต้องรอระหว่างขึ้นเครื่องและลงเครื่องนานมากด้วย และในระยะยาวแล้วความคุ้มค่าในการลงทุนไฮเปอร์ลูปนั้นจะมีความคุ้มค่ามากกว่า เพราะหากตั๋วมีราคาถูกกว่าเครื่องบินและรถไฟความเร็วสูง ก็คาดว่าจะมีผู้คนสนใจใช้บริการเป็นจำนวนมาก เพราะมีความสะดวกรวดเร็วคล่องตัวกว่า

มีการวิเคราะห์ว่าในช่วงเริ่มต้นนี้การลงทุนเส้นทางไฮเปอร์ลูปให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุดควรเลือกเส้นทางที่เป็นการเชื่อมต่อระหว่างเมืองใหญ่ เช่น เส้นทางลอสแองเจลิสกับซานฟรานซิสโก หรือเส้นทางระหว่างสต็อกโฮล์มกับเฮลซิงกิ ซึ่งเป็นเส้นทางที่ตอนนี้กำลังอยู่ในช่วงศึกษาความคุ้มค่าการลงทุน ที่เป็นเช่นนั้นเพราะการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างเมืองใหญ่ที่เป็นแหล่งธุรกิจ จะมีผู้สนใจใช้บริการเป็นจำนวนมาก และส่วนมากจะเป็นคนมีฐานะที่ไม่เกี่ยงเรื่องราคาค่าตั๋วที่ตอนแรกอาจจะยังแพงอยู่ ทำให้ระยะเวลาในการคืนทุนเร็ว ในระยะยาวจึงสามารถลดราคาตั๋วเดินทางลงได้ แต่สิ่งหนึ่งที่หลายคนยังอดห่วงไม่ได้ก็คือเรื่องความปลอดภัย เพราะการเดินทางด้วยความเร็วสูงถึง 1,200 กม./ชม.นั้นหากเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นมาคงจะต้องร้ายแรงกว่ารถชนที่วิ่งด้วยความเร็ว 120 กม./ชม.ประสบอุบัติเหตุเป็น 10 เท่าแน่ แค่คิดก็ไม่อยากจะคิดต่อแล้ว นี่คือสิ่งที่ผู้พัฒนาโครงการจะต้องรับมือให้ดี และตอบสังคมให้ได้ว่ามีมาตรการป้องกันความปลอดภัยอย่างไร

Continue Reading

ระบบขนส่ง “ไฮเปอร์ลูป” รูปแบบการขนส่งรูปแบบใหม่ที่ขึ้นแท่น ๆ เป็นระบบขนแห่งอนาคตที่ถูกเลือกแล้ว

                ระบบขนส่งในในปัจจุบันที่เราคิดว่าทันสมัย หากให้ลองนั่งนึกกันเล่น ๆ คุณจะสามารถจินตนาการถึงอะไรได้บ้าง หลายคนตอบว่าถ้าเป็นทางอากาศก็คงต้องยกให้เครื่องบิน ทางบกก็ต้องเป็นรถไฟความเร็วสูง หากเป็นทางน้ำก็คงต้องยกให้เรือ แต่ทราบหรือไม่ว่าตอนนี้ระบบขนส่งรูปแบบใหม่ที่กำลังมาแรงแซงทางโค้งเลยคืออะไร? หากเราตอบไปหลายคนจะตอบร้องอ๋อ เพราะคำตอบนั้นก็คือ “ไฮเปอร์ลูป” (Hyperloop) สำหรับหลายคนแล้วอาจจะเคยได้ยินเพียงชื่อ แต่ไม่เคยทราบรายละเอียดมาก่อนว่าแท้ที่จริงแล้วไฮเปอร์ลูปคืออะไร และทำงานอย่างไรกันแน่ ดังนั้นวันนี้เราจะขอพาคุณมาทำความรู้จักกับมันซะหน่อย

ไฮเปอร์ลูป คืออะไร มีหลักการทำงานอย่างไร แล้วทำไมคนถึงให้ความสนใจนัก?

ไฮเปอร์ลูปคือไอเดียของรูปแบบการขนส่งสิ่งของและผู้โดยสารรูปแบบใหม่ที่ถูกนำเสนอเป็นครั้งแรกโดยสุดยอดนวัตกรรม นักลงทุน และอภิมหาเศรษฐีที่โด่งดังอย่าง อีลอน มัสก์ (Elon Musk) ที่เค้าได้เสนอไอเดียไฮเปอร์ลูปไว้ตั้งแต่ในช่วงต้นของยุค 2000 มันคือรูปแบบการขนส่งในท่อสุญญากาศที่ใช้ส่วนประกอบที่เรียกว่า พอด (pod) เป็นทำหน้าที่เป็นเหมือนแคปซูลขนาดย่อมเยาว์สำหรับบรรจุสิ่งของและผู้โดยสาร แล้วยิ่งพอดเหล่านั้นให้เคลื่อนที่เดินทางด้วยความเร็วสูงโดยอาศัยแรงดันเป็นลบหรือสุญญากาศที่ด้านหน้าพอด และแรงดันที่เป็นบวกที่ด้านหลังพอด และด้วยการเคลื่อนที่ของพอดภายใต้สภาวะสุญญากาศทำให้พอดสามารถเดินทางด้วยความเร็วสูงกว่ารถไฟความเร็วสูงมากเนื่องจากไร้แรงต้านอากาศ

ไอเดียระบบขนส่งไฮเปอร์ลูป ช่างเหมือนไอเดียจากนิยายวิทยาศาสตร์ แล้วมันถูกทำให้เป็นจริงขึ้นมาได้อย่างไร?

ไอเดียไฮเปอร์ลูปที่อีลอน มัสก์นำเสนอให้ชาวโลกได้รับรู้ครั้งแรกนั้นมีชื่อว่า “อัลฟ่า โมเดล” (Alpha Model) ที่ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมขนส่งระดับโลกเกือบทุกคนได้พิจารณาแล้วว่ามันเป็นระบบขนส่งที่เป็นไปไม่ได้ และถึงเป็นไปได้ก็ไม่คุ้มค่าที่จะทำเป็นอย่างยิ่ง แต่มัสค์ก็ไม่ยอมเลิกล้มความตั้งใจ และเพื่อพิสูจน์ให้ชาวโลกได้เห็นว่าระบบนี้มีความเป็นไปได้ เค้าจึงได้ให้ SpaceX สร้างรางทดสอบที่เป็นท่อเพื่อเอาไว้สำหรับเป็นต้นแบบทดสอบระบบไฮเปอร์ลูปที่มีสเกลขนาดเล็กกว่าของจริง แล้วเปิดให้ผู้ที่สนใจไอเดียนี้ทั้งนักศึกษาและบริษัทห้างร้านต่าง ๆ ร่วมกันแข่งขันออกแบบพอด ซึ่งก็ได้รับความสนใจจากทั่วโลก ส่งการออกแบบเข้าร่วมการประกวดมากมาย หลังจากที่ประกวดออกแบบพอดเรียบร้อยแล้ว ทีมที่ชนะได้รับการคัดเลือกจำนวนหนึ่งจะได้รับเงินรางวัลให้กลับไปสร้างพอดจริง ๆ เพื่อส่งมาเข้าร่วมการแข่งขันทดสอบในรางทดสอบที่ SpaceX สร้างขึ้น ทีมไหนพอดสามารถทำผลงานได้ดีจะได้รับข้อเสนอให้ได้ร่วมทุนกับ SpaceX ในการทำโครงการไฮเปอร์ลูปต่อไป

ความสำเร็จยิ่งใหญ่จากจุดเริ่มต้นโครงการไฮเปอร์ลูปของอีลอน มัสก์ นำไปสู่การพัฒนาอย่างไฮเปอร์ลูปอย่างจริงจัง

                จากจุดเริ่มต้นที่จริงจังของอีลอน มัสก์ที่ทำให้นักลงทุนได้เห็นถึงศักยภาพการพัฒนาของไฮเดียไฮเปอร์ลูปนี้ ทำให้ปัจจุบันมีหลายบริษัททุ่มเทอย่างจริงจังเพื่อจะนำไอเดียไฮเปอร์ลูปที่มัสค์ไม่ได้สงวนสิทธิ์ไปพัฒนาต่อ โดยบริษัทที่เป็นผู้นำเทคโนโลยีไฮเปอร์ลูปในปัจจุบันมีหลายบริษัท เช่น Virgin Hyperloop One, TransPod, Hyperloop Transportation Technologie และ DGWHyperloop เป็นต้น แล้วก็น่าจะมีอีกหลายบริษัทผุดขึ้นตามมาอีกมากมายโดยเฉพาะในประเทศจีน หากเทคโนโลยีนี้ได้รับการพิสูจน์ใช้งานจริงแล้วพบว่ามีความคุ้มค่าในด้านการลงทุนก็เชื่อได้เลยว่าพี่จีนเราตามน้ำแน่นอน     ปัจจุบันบริษัทที่ถือได้ว่าเป็นผู้นำเบอร์ 1 ของโลกในด้านเทคโนโลยีไฮเปอร์ลูปก็ต้องยกให้ Virgin Hyperloop One ที่ตอนนี้ได้เริ่มตอกเสาเข็มเส้นทางไฮเปอร์ลูปเส้นทางแรกในดูไบแล้ว ส่วนอนาคตในวันข้างหน้าของไฮเปอร์ลูปจะสดใสแค่ไหน จะเป็นระบบขนส่งรูปแบบใหม่ที่สามารถใช้งานได้ครอบคลุมทั้งโลกดังที่อีลอน มัสก์คาดหวังไว้หรือไปเราคงต้องจับตาดูกันต่อไป

Continue Reading