เลเซอร์ไฟเบอร์ เซ็นเซอร์เทคโนโลยีรูปแบบใหม่

ด้วยความรุดหน้าของเทคโนโลยี ล่าสุดทีมนักพัฒนาจากประเทศจีน ก็ได้ทำการพัฒนาเลเซอร์ใยแก้วนำแสงที่ออกแบบมาเพื่อเป็นอุปกรณ์สวมใส่ เพื่อให้สามารถถ่ายภาพในร่างกายของมนุษย์ได้ ซึ่งถือเป็นวัฒนาการทางด้านการแพทย์ที่ก้าวหน้าไปอีกขั้น

เซ็นเซอร์ใยแก้วนำแสงหรือเลเซอร์ไฟเบอร์

ล่าสุดนักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยี Photonics มหาวิทยาลัยจี่หนาน ในมณฑลกวางโจว ได้พัฒนาเทคนิคการถ่ายภาพโดยการใช้แสงเลเซอร์ โดยมีเทคนิคการใช้งานเป็นรูปแบบของการสวมใส่อุปกรณ์เพื่อช่วยวินิจฉัยทางการแพทย์
โดยการทำงานของเลเซอร์จะขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบกับความยืดหยุ่นในเส้นใยแสง เพื่อให้ทำงานควบคู่ไปกับทำงานของคลื่นอัลตร้าซาวด์ที่มีการแพร่กระจายเป็นคลื่นทรงกลม และมีความไวค่อนข้างต่ำ  เพื่อให้สามารถใช้ในการวินิจฉัยทางด้านการแพทย์ได้ดียิ่งขึ้น

ลักษณะการทำงานของเซ็นเซอร์ใยแก้วนำแสง

ด้วยคุณสมบัติการแพร่กระจายที่กะทัดรัดมากขึ้น เพื่อให้ภาพถ่ายที่ดีกว่า ภายในแกนหลักของเส้นใยแสงมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 8 มม. เพื่อสร้างเป็นกระจกสะท้อนสองเส้นเข้ากับแกนเส้นใยด้วยแสงอัลตราไวโอเลต ผ่านเส้นใยแก้วที่ถูกเจือด้วย ytterbium และ erbium เพื่อแปลงเป็นแสงเลเซอร์ เพื่อเริ่มต้นการทำงานของเลเซอร์โดยใช้เลเซอร์เซมิคอนดักเตอร์ขนาด 980 nm จากเส้นใยแสงที่มีความยาวเพียง 8 มม. จากนั้นจึงปล่อยแสงที่ความยาวคลื่น 532 nm ออกมา
เมื่อเลเซอร์เส้นใยเหล่านี้ได้รับผลกระทบจากคลื่นอัลตร้าซาวด์ขนานกับความยาวเส้นใย จะเปลี่ยนรูปคลื่นที่ได้ผ่านการปรับความถี่ ทำให้สามารถตรวจจับการเปลี่ยนความถี่และสามารถสร้างเป็นรูปคลื่นเสียงได้

รูปแบบของการทำงานของคลื่นที่ถูกคิดค้นขึ้นมานี้ มีชื่อว่า self-heterodyning ซึ่งเป็นการทำงานโดยผสมเอาคุณสมบัติของ 2 ความถี่มาผสมกัน ทำให้เกิดข้อได้เปรียบและทำให้เอาต์พุตสัญญาณที่ได้มีเสถียรภาพมากขึ้น โดยได้มีการนำเลเซอร์ที่ว่านี้ไปทดสอบโดยการศึกษาหลอดเลือดในหูของหนูทดลอง ซึ่งสามารถแสดงภาพการกระจายออกซิเจนมาเพื่อใช้ทำการวินิจฉัยได้อย่างชัดเจน แสดงให้เห็นว่าเซนเซอร์ตัวนี้มีศักยภาพในการทำงานมาก และจะได้พัฒนาเพื่อประโยชน์ในการวินิจฉัยด้านการแพทย์ในกรณีอื่น ๆ ต่อไป

นับวันก็ยิ่งมีการคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ ๆ มากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งถือเป็นข้อดีมากกว่าข้อเสียโดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านการแพทย์ เนื่องจากจะช่วยเพิ่มความแม่นยำในการวินิจฉัยและเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการรักษา ทำให้สามารถช่วยชีวิตคนไข้ได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งก็ต้องติดตามกันต่อไปว่าหลังจากที่ได้มีการคิดค้นเลเซอร์ไฟเบอร์ตัวนี้ขึ้นมาแล้ว จะสามารถนำไปใช้งานจริงเพื่อวินิจฉัยโรคและช่วยเหลือผู้ป่วยรวมถึงคนไทยจะได้มีโอกาสใช้เทคโนโลยีตัวนี้ได้จริงเมื่อไหร่

 

Continue Reading