Autopilot ระบบช่วยขับขี่ของยานพาหนะยุคใหม่

เมื่อพูดถึงเรื่องของ Autopilot หรือระบบการบินอัตโนมัติ หลายคนก็คงจะบอกว่ามันไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรนี่ เพราะในทางการบินนั้น ก็มีการใช้ระบบนี้มาตั้งนานแล้ว ซึ่งก็เป็นความจริง แต่สิ่งที่น่าสนใจก็คือ นอกจากเครื่องบินแล้วในปัจจุบันยังได้มีการคิดค้นและพัฒนาเพื่อนำเอาระบบ Autopilot นี้มาใช้งานเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกสำหรับการขับขี่ให้กับยานพาหนะชนิดอื่น อย่างเช่นรถยนต์ส่วนบุคคลด้วย จะเป็นอย่างไร เราไปติดตามและอัพเดตข่าวคราวทางด้านเทคโนโลยีชนิดนี้กัน

ระบบ Autopilot ของเครื่องบิน

                ก่อนอื่นมารู้จัก และมาทำความเข้าใจกับระบบ Autopilot ของเครื่องบินกันมากขึ้นก่อน ระบบ Autopilot หลัก ๆ ก็คือระบบนำทางของเครื่องบิน เพื่อช่วยให้เครื่องบินเดินทางไปถึงจุดหมายปลายทางได้อย่างถูกต้องแม่นยำและปลอดภัย ซึ่งในเครื่องบินแต่ละลำก็จะมีการติดตั้งระบบ Autopilot ที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างกันไป และสิ่งที่สำคัญก็คือ ถึงแม้ว่าเครื่องบินจะมีระบบ Autopilot ก็ยังคงต้องอาศัยการทำงานของนักบินและผู้ช่วยในการกำหนดค่าต่าง ๆ รวมถึงต้องคอยสังเกตการณ์เมื่อมีสถานการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้น หรือจำเป็นต้องเปลี่ยนทิศทางการบิน โดยระบบ Autopilot ของเครื่องบินส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วย 4 ระบบได้แก่ ระบบตั้งค่าทิศทางการบิน ระบบ Navigation  ระบบควบคุมความสูงของตัวเครื่องบิน เพื่อให้เครื่องบินสามารถไต่ระดับหรือลดระดับความสูงได้อย่างอัตโนมัติ ใครที่นั่งเครื่องบินบ่อย ๆ คงจะคุ้นหูกับการที่กัปตันประกาศว่า ขณะนี้เราอยู่ที่ระดับความสูงเท่านั้นเท่านี้ และระบบช่วยคำนวณในการนำเครื่องขึ้นและจอดเพื่อให้เครื่องบิน แลนดิ้งและเทคออฟ นำผู้โดยสารไปถึงที่หมายได้อย่างสวัสดิภาพ

การนำระบบ Autopilot มาใช้ขับเคลื่อนยานพาหนะชนิดอื่น

                ในปัจจุบันด้วยความก้าวหน้า และการพัฒนาของเทคโนโลยีที่ไม่เคยหยุดยั้ง ทำให้บริษัทรถยนต์หลายบริษัทพยายามพัฒนาระบบการขับขี่อัตโนมัติ ซึ่งมีความคล้ายกับระบบ Autopilot ของเครื่องบิน มาใช้เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้กับมนุษย์ในการขับขี่รถยนต์กันมากขึ้น แต่ระบบเหล่านั้นยังไม่ใช่ระบบ Autopilot หรือการควบคุมการขับขี่อัตโนมัติเสียทีเดียว แต่เป็นระบบช่วยเหลือคนขับที่เรียกว่า Self – assisted Driving เสียมากกว่า ตัวอย่างเช่น บริษัท Telsa ผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติจีน ที่ได้นำเอาระบบนี้มาทดลองได้แล้ว แต่ก็ยังเกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชนขึ้น ทำให้ต้องเปลี่ยนการเรียกระบบการขับอัตโนมัติ ที่เคยใช้เรียกก่อนหน้า มาเป็นการใช้คำว่าระบบช่วยขับแทน เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดความสับสน เนื่องจากคนขับยังมีความจำเป็นที่จะต้องควบคุมพวงมาลัยอยู่ ถึงแม้ว่าจะมีเทคโนโลยีนี้ช่วยก็ตาม ก็ไม่ได้เป็นระบบที่รถยนต์สามารถขับขี่ได้เองโดยไม่ต้องมีคนขับ ซึ่งสุ่มเสี่ยงที่จะสร้างความสับสน และเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้

 

Continue Reading